27 กันยายน 2560

รายชื่อนักศึกษาห้องBการจัดการ60

วิชา คอมพิวเตอร์ในงนอุตสาหกรรม

สมาชิก

1.นายเกียรติศักดิ์ เกตุอักษร ไฟท์ 2.นายจรณะ แท่งทอง เปา
3.นางสาวเฉลิมพร ศรีมณี เจล 4.นายชาติศิริ รัตนชู ติ๊บ 5.นายชินวัฒร์ เพ็ชรโสม แมน 6.นายณฐกร ชัยปาน โจ 7.นายณัฐกร สงสม จ๊อบ 8.นายณัฐพล วงศ์สุขมนตรี เกมส์ 9.นางสาวทัสนีย์วรรณ กาญจโนภาส ษา 10.นายธนวัต แก้วบุษบา ธัน 11.นายนราธร จันทรจิตร เนม 12.นางสาวนิชาภัทร เพ็ชรวงศ์ แอม 13.นางสาวเบญญทิพย์ ฆังคสุวรรณ อ้าย 14.นางสาวปัถยา บุญชูดำ ปัด 15.นายพศวัต บุญแท่น อ๊อฟ
16.นางสาวแพรพลอย พรหมประวัติ แพรรี่ 17.นายไฟซ้อล ประชานิยม ซอล 18.นายภูมิภัทร สรรนุ่ม อ้วน 19.นายยศกร บัวดำ ทาย 20.นางสาวรัฐชา วงศ์สุวรรณ เบญ 21.นายเรืองศักดิ์ ใหม่แก้ว เอ็ม 22.นางสาววลีพร ลิขิตธีระกุล นุ้ก 23.นายวาทิศ อินทร์ปาบ รถเบนซ์ 24.นางสาววิภารัตน์ ดำสุข ออม 25.นางสาวศศิธร ชูปาน จูน 26.นายศุภกิจ ติเลส ดุกดิก 27.นายเศรษฐชัย ฐินะกุล ตาล 28.นายสราวุธ จันทร์แก้ว ฟิล์ม 29.นายสุชาครีย์ งามศรีตระกูล เบนซ์ตี๋ 30.นายสุริยา หวันสะเม๊าะ ดิ่ง
31.นายอนันต์ อาแว นัง 32.นายอนุวัช นุ่นเอียด กอล์ฟ 33.นายอภิชัย เสวาริท บอล 34.นางสาว อรอุมา หมากปาน ญาญ่า

13 กันยายน 2560

ระบบ AS/RS


ระบบ AS / RS

ระบบ AS/RS

    ระบบการจัดเก็บและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัติ (Automated Storage/Retrieval System เรียกโดยย่อว่า AS/RS)  คือ  การทำงานของระบบการจัดเก็บในคลังสินค้าหรือโกดังที่มีการควบคุมด้วยระบบการจัดเก็บวัสดุ การรับวัสดุ รวมทั้งการเคลื่อนที่ของอุปกรณ์ขนถ่าย ที่ทำงานร่วมกับโรงงานและคลังสินค้า ซึ่งสามารถออกแบบการใช้งานให้เหมาะสมกับการทำงานลักษณะต่างๆได้โดยทั่วไปแล้วปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการจัดเก็บและเรียกใช้ของอุปกรณ์แบบ AS/RS จะพิจารณาจากลักษณะโครงสร้างของหิ้งที่ใช้จัดเก็บ ความเร็วในการเคลื่อนของอุปกรณ์ AS/RS ทั้งในแนวดิ่งและแนวราบ

ระบบ AS/RS แบ่งออกเป็นแบบต่างๆดังนี้

  1. -UnitLoadAS/RS
  2. -MiniloadAS/RS
  3. -Man-on-BoardAS/RS หรือ ManaboardAS/RS
  4. -AutomatedItemRetrievalSystem
  5. - Deep-Lane AS/RS
องค์ประกอบพื้นฐานของระบบ AS/RS
  1. 1.โครงสร้างที่เก็บวัสดุ (Storage Structure)
  2. 2.เครื่อง S/R (Storage/Retrieval Machine)
  3. 3.หน่วยของการเก็บวัสดุ (Storage Module)
  4. 4.สถานีหยิบและฝากวัสดุ (Pickup and Deposit Station)

อุปกรณ์พิเศษของระบบ AS/RS
  1. 1.รถเคลื่อนย้ายช่องทางขนส่งวัสดุ (Aisle Transfer Car)
  2. 2.อุปกรณ์ตรวจสอบถังบรรจุวัสดุว่างเปล่า/เต็ม
  3. 3.สถานีวัดขนาดโหลด (Sizing Station)
  4. 4.สถานีบ่งชี้โหลด (Load Identification Station)

การประยุกต์ใช้ระบบ AS/RS
การแยกใช้งานของระบบ AS/RS ออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
  1. จัดเก็บและเรียกคืน Unit Load
  2. หยิบวัสดุตามสั่ง (Order picking)
  3. ระบบจัดเก็บวัสดุระหว่างกระบวนการ

การจัดเก็บวัสดุระหว่างกระบวนการ
  1. 1.ใช้เก็บชุดของชิ้นงานประกอบ
  2. 2.สนับสนุนการผลิตแบบ JIT
  3. 3.ใช้เป็นบัฟเฟอร์สำหรับจัดเก็บวัสดุ
  4. 4.สามารถใช้งานร่วมกันกับระบบบ่งชี้ชิ้นงานแบบอัตโนมัติ
  5. 5.ทำให้เกิดการควบคุมและการติดตามวัสดุอย่างมีประสิทธิภาพ
  6. 6.สนับสนุนการทำให้เกิดการทำงานแบบอัตโนมัติทั้งโรงงาน

ประโยชน์ที่จะได้รับ

  1. ลดพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้า
  2. ลดพื้นที่ในการขนถ่ายสินค้า
  3. เพิ่มปริมาณการจัดเก็บสินค้า
  4. เพิ่มประสิทธิภาพในการเบิกจ่ายสินค้า
  5. ทำงานรวดเร็วแม่นยำ



Unit-load ASRS "Compact System"
Pallet ASRS ของ Daifuku เป็นระบบจัดเก็บวัสดุอัตโนมัติที่ขายดีที่สุดในโลก เหตุผลคือ จัดเก็บได้เต็มประสิทธิภาพ, ปฏิบัติงานได้รวดเร็วและความหลากหลายPallet ASRS เป็น “Compact System” (กระทัดรัดและอเนกประสงค์) ออกแบบเพื่อให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นด้านสภาพแวดล้อมในการติดตั้งและสภาพการปฏิบัติงาน และสามารถออกแบบความสูงได้ถึง 40 เมตร

Pallet ASRS working for supermarket


Rack-Supported Building ASRS
RACKBUIL หมายถึงการใช้โครงสร้างของชั้นวางสำหรับสร้างอาคาร โดยเป็นไปตามข้อกำหนดของการก่อสร้างและระเบียบข้อบังคับตามกฏหมาย เป็นแนวทางของการใช้เนื้อที่ให้เต็มประสิทธิภาพและคุ้มค่า เหมาะสำหรับการจัดเก็บสินค้าปริมาณมาก และเน้นความสูงของชั้นวาง
Rackbuil ได้ถูกก่อสร้างครั้งแรกในปี 1966 จากนั้น Daifuku ก็ยังคงสืบสานแนวทางนี้สำหรับศูนย์กระจายสินค้าและห้องเย็น
ระบบจะประกอบด้วย ชั้นวาง, ฐานคอนกรีตพร้อมตัวยึด, หลังคา, ผนังกำแพง, ฉนวนกันความร้อน, วัสดุทนไฟ, อุปกรณ์ฉีดน้ำและดับเพลิง ตลอดจนอุปกรณ์ขนย้ายวัสดุและระบบไอที (โครงแบบอาจปรับเปลี่ยนไปตามอุณหภูมิในการทำงานจริงและระเบียบข้อบังคับของท้องถิ่น)

rack-supported building






6 กันยายน 2560

หุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม

หุ่นยนต์ที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม





หุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิด

หุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดเวอร์ชั่นล่าสุด มีจุดเด่นอยู่ที่การทำงาน โดยระบบ Interface System ขนาดกว้าง 548 มิลลิเมตร ยาว 740 มิลลิเมตร สูง 190 มิลลิเมตร ความยาวแขนปีนป่าย 350 มิลลิเมตร น้ำหนักเฉพาะตัวฐานหุ่นยนต์ ไม่รวมแขนกล 25-30 กิโลกรัม ตัวหุ่นยนต์สามารถรับน้ำหนักแนวดิ่งได้ ณ จุดศูนย์กลางน้ำหนัก 20 กิโลกรัม ขับเคลื่อนด้วยล้อสายพาน มีระบบป้องกันการลื่นไหลขณะปีนป่ายความชันไม่เกิน 60 องศา ติดตั้งกล้องความละเอียดสูง 15 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ควบคุมตัวหุ่นยนต์ด้วยระบบไร้สาย ใช้งานได้ 1.30–2 ชั่วโมง สามารถติดตั้งแขนกลได้หลายรูปแบบ สามารถเปลี่ยนแขนกลได้ทันที และปรับเปลี่ยนเป็นหุ่นยนต์สำรวจได้ และปัจจุบันที่ศูนย์แห่งนี้ได้พัฒนาไปถึงขีดขั้น Inhouse Production คือ สามารถผลิตอะไหล่ทุกชิ้นเองได้ 


หุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม

ตัวหุ่นยนต์ (Robot Body / Manipulator) เป็นส่วนที่สำคัญที่สุด เพราะเวลาที่เราจะพิจารณาเลือกใช้หุ่นยนต์สักตัวเพื่อทำมาใช้ช่วยในกระบวนการผลิตจะต้องคำนึงถึงลักษณะของงาน พื้นที่ สิ่งแวดล้อม เนื่องจากตัวหุ่นยนต์นั้นเป็นส่วนที่ต้องนำมาใช้ในกระบวนการทำงานอยู่ตลอดเวลา ซึ่งลักษณะงานที่แตกต่างกันก็จะเป็นตัวบ่งบอกในเรื่องของขนาดโครงสร้างของตัวหุ่นยนต์ด้วย ซึ่งตรงนี้หลายๆ ท่านอาจนึกภาพออก ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับคน หากคนที่ตัวเล็กอาจยกของได้น้อยกว่าคนตัวใหญ่นั่นเอง ดังนั้น เราจึงต้องมาศึกษาให้เข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างของตัวหุ่นยนต์ก่อนว่าประกอบไปด้วยอะไรบ้าง เพราะหากเราไม่ทราบเราก็จะไม่สามารถโปรแกรมหุ่นยนต์ให้ทำงานได้ ที่สำคัญ คือ เราจะคุยกับคนอื่นไม่รู้เรื่องอีกด้วย




หุ่นยนต์เลียนแบบมนุษย์

อาซิโม (Ashimo) คือหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยนด์ (Humanoid) หรือหุ่นยนต์ที่เลียนแบบท่าทางต่าง ๆ ของมนุษย์ พัฒนาขึ้นมาโดยบริษัทฮอนด้า ประเทศญี่ปุ่น โดยฮอนด้า (Honda) ได้มีโครงการวิจัยศึกษาและพัฒนาหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ (Humanoid) ตั้งแต่ปี ค.ศ.1986 (พ.ศ.2529) โดยเริ่มจากหุ่นยนต์ต้นแบบ E0-E6 ในปี ค.ศ.1986-1993 (พ.ศ.2529-2336) และ P1-P3 ในปี ค.ศ.1993-1997 (พ.ศ.2536-2540) จนกระทั่งสร้างหุ่นยนต์อาซิโม (Ashimo) สำเร็จขึ้นในวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ.2000 (พ.ศ.2543) และมีอาซิโมเวอร์ชันใหม่ในปี ค.ศ.2011 (พ.ศ.2554) ซึ่งมีความสามารถเพิ่มขึ้นจากรุ่นก่อนหน้า รวมไปถึงความสามารถในการวิ่งของ อาซิโมรุ่นใหม่นี้สามารถวิ่งด้วยความเร็วมากถึง 9 กิโลเมตร/ชั่วโมง เป็นหุ่นยนต์ที่เลียนแบบมนุษย์ที่วิ่งได้เร็วที่สุดในโลกในปัจจุบัน ต่างจากรุ่นก่อนหน้าที่สามารถวิ่งได้เพียง 6 กิโลเมตร/ชั่วโมงเท่านั้น และยังมีน้ำหนักน้อยลงเหลือ 48 กิโลกรัมเท่านั้น (รุ่นก่อนหน้าหนัก 54 กิโลกรัมต่างกันถึง 6 กิโลกรัม) มีความสูง 130 เซนติเมตร ซึ่งเป็นความสูงที่พอเหมาะพอดีกับการทำงานในบ้านและในออฟฟิศเป็นอย่างมาก